สมุนไพรแก้ภูมิแพ้นั้นมีหลายชนิดด้วยกัน เรามาทำความรู้จักสมุนไพรแก้ภูมิแพ้แต่ละชนิดกันดีกว่าค่ะ
เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญคือ กลุ่มสารโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว เพิ่มสารอิมมูโนโกลบูลิน และ สารอินเตอร์ลิวคินอันเป็นตัวต้านสารที่ทำให้แพ้ และกลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ (Bitter Triterpenoids) อันเป็นสารช่วยยั้บยั้งไม่ให้ร่างกายผลิตสาร ฮีสตามีน (Histamine)
หอมแดง มีสารไบโอฟลาโวนอยด์ที่ชื่อ Quercitih ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้าย Cromolyn Sodium ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้รักษาโรคภูมิแพ้และอาการหอบหืด โดยตัวของสารในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์นั้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้น
กระเทียม สารอัลลิซินที่สกัดได้จากกระเทียมมีคุณสมบัติเป็นยาปฎิชีวนะที่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยไม่เป็นหวัด โรคติดเชื้อทางลำไส้ ช่วยบำบัดอาการโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
ขมิ้นชัน เพิ่มภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลิน ชนิดจี (IgG) และลดความไวต่อตัวกระตุ้น ช่วยขยายหลอดลม ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ไพล เหง้าไพลมีน้ำมันหอมระเหย และมีสารให้สี ซึ่งจากการทดลองพบว่ามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ แก้หอบหืด
ปีบ หรือ กาซะลอง เป็นพืชตะกูลแค ดอกปีบมีสารฮีสปีดูลิน (Hispidulin) ซึ่งระเหยได้ มีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ดีกว่า อะมิโนฟิลลีน (aminophylline)ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบัน ที่รักษาโรคหอบหืด และไม่มีความเป็นพิษแต่อย่างไร
หนุมานประสานกาย มีสารซาโปนิน (Saponins) พบได้จากการสกัดใบ ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ซึ่งจะลดการหลั่งของสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ อย่าง ฮีสตามีน และ สารเมซโคลิน (Methcholine) นอกจากนี้ยังพบสาร Butulinic Acid , Olenic Acid อย่างไรก็ตามหนุมานประสานการมีฤทธิ์เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจและเป็นพิษต่อหัวใจเมื่อใช้ยาในปริมาณที่สูง จึงไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ คนทีมีไข้สูง สตรีมีครรภ์ มีการศึกษาของชาวญี่ปุ่นพบว่า มีคุณสมบัติรักษาโรคเกี่ยวกับปอด เช่น วัณโรค แผลในปอด ไอกรน ปอดบวม อีกด้วย
ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่เป็น สมุนไพรแก้ภูมิแพ้ และถูกนำมาใช้ในการบำบัดโรคภูมิแพ้ แต่ยังไม่มีผลการศึกษาออกมาเผยแพร่ มีเพียงการใช้ต่อๆกันมาจากบรรพบุรุษ หรือจากตำรายาโบราณที่สืบทอดกันมา อย่างไรก็ตาม นอกจากการสมุนไพรแล้วผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เพราะโรคภูมิแพ้นั้นถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลงเรื่อยๆ และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้